|
|
 |
:. การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม
.:
... เทคนิคในการถ่ายภาพทางสถาปัตยกรรมนั้น
จะต้องคำนึงถึงตำแหน่งที่ตั้งกล้องและสภาพของแสง ภาพถ่ายที่มีทั้งแสงและเงาในภาพจะทำให้ภาพมีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสีของภาพ
และทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นภาพสามมิติ เงาในภาพยังแสดงให้ทราบถึงทิศทางของแสง
เวลาในรอบวันหรือแม้แต่สภาพบรรยากาศอีกด้วย เงายังให้ความงามเพราะสามารถทำให้เกิดการสร้างสรรค์
ตำแหน่งที่ตั้งกล้องควรเป็นตำแหน่งที่เหมาะสม ที่ภาพของวัตถุที่ต้องการปรากฏเต็มขนาดของฟิล์มพอดี
โดยใช้เลนส์ที่เหมาะสม ในบางครั้งมีความจำเป็นบังคับ ทำให้ไม่สามารถถอยห่างออกจากสถาปัตยกรรมที่มีความสูงมากๆ
ได้ จึงจำเป็นต้องเงยกล้องขึ้นเพื่อให้สามารถถ่ายภาพได้ ดังนั้นภาพที่ได้จึงลู่เข้าหากันทางด้านบน
ข้อบกพร่องดังกล่าวอาจแก้ไขได้โดยใช้เลนส์พิเศษที่เรียกว่า Shift
Lens เลนส์แบบนี้เป็นเลนส์มุมกว้างที่ตัวเลนส์สามารถเคลื่อนที่ขึ้นลง
หรือเคลื่อนที่ซ้ายขวาในทิศทางขนานกับระนาบฟิล์มได้ ในกรณีที่จะถ่ายตึกสูงๆ
จึงควรเคลื่อนให้สูงขึ้นจากตำแหน่งปกติ หรือเดินออกห่างตึกที่จะถ่ายให้ไกลออกไป
และถือกล้องให้ระนาบฟิล์มขนานกับระนาบของตัวตึก ก็จะได้ภาพถ่ายที่เหมือนจริงทุกประการ
|
กล้องนิคอน FE, 28 มม. ฟิล์มโกดาโครม
64 ไอเอสโอ f/8, 1/125วินาที |
กล้องนิคอน FE, 28 มม. ฟิล์มเอ็กตาโครม 64 ไอเอสโอ f/16, 1/60
วินาที |
...
ส่วนสภาพของแสงมีหลักการกว้างๆ
คือ ถ้าเป็นการถ่ายภาพนอกสถานที่ แสงที่เหมาะที่สุดควรเป็นแสงอาทิตย์ในขณะที่มีกลุ่มเมฆบางๆ
ตัดแสงอาทิตย์ให้อ่อนหรือนุ่ม และควรจะมีกลุ่มเมฆอื่นๆ ช่วยในการสะท้อนแสงมายังอาคารอีกด้วย
การถ่ายภาพโดยใช้แสงอาทิตย์โดยตรง และแสงสะท้อนจากท้องฟ้าจะทำให้ภาพมีคอนทราสสูง
มีเงาดำสนิท แต่ถ้าท้องฟ้าถูกปกคลุมด้วยเมฆหนาทึบจนกระทั่งไม่มีเงาของตัวอาคารเลย
สภาพแสงแบบนี้จะมีผลทำให้ภาพขาดความลึกและรายละเอียด แสงที่ตกทางด้านหน้าอาคารตรงๆ
เป็นแสงที่ไม่เหมาะสมในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม เพราะจะทำให้ไม่มีเงา
ดังนั้นภาพที่ได้จะขาดมิติ ไม่มีความลึก สภาพของแสงที่เหมาะสมคือให้แสงตกทางด้านข้างของตัวอาคาร
และดวงอาทิตย์ควรอยู่สูงจากพื้นระนาบประมาณ 45 องศา คือ แดดประมาณเก้าโมงเช้าหรือบ่ายสามโมง
ภาพที่ได้จึงจะมีความลึกและเห็นรายละเอียดเด่นชัด |
กล้องนิคอน FE, 28 มม. ฟิล์มเอ็กตาโครม 64 ไอเอสโอ f/16, 1/60
วินาที |
ที่มา
: ศักดิ์ดา ศิริพันธ์.การถ่ายภาพสี. 2527, 83-84 |
|
|
|
|