:- บทความภาพยนตร์ -:
->ภาษาภาพยนตร์ (ตอนจบ)<-


:. ภาษาภาพยนตร์ .:

องค์ประกอบของภาษาภาพยนตร์ (ต่อ)

.....2.เสียง เสียงที่ใช้ในภาพยนตร์ประกอบด้วย
..........เสียงพูด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
...............-เสียงสนทนา (Dialoque) เป็นเสียงที่ได้ยินพร้อมกับเห็นริมฝีปากขยับ นิยมใช้กับการแสดง
...............-เสียงบรรยาย (Narration) เป็นเสียงของผู้พูดที่ไม่ปรากฏตัวในภาพยนตร์และอธิบายถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์

..........เสียงประกอบ (Sound Effect) ใช้ประกอบส่วนหนึ่งของความเป็นจริง เช่น เสียงไซเรน เสียงล้อบดถนน
..........เสียงดนตรี (Music) นิยมใช้เร้าอารมณ์มากกว่าใช้เป็นตัวเล่าเรื่อง ปกติใช้เสียงดนตรีในฉากเหตุการณ์ที่วิกฤต เกิดความสงสัยเคลือบแคลงขึ้น รวมทั้งนิยมใช้ดนตรีในการเชื่อมโยง Sequence หนึ่งไปอีก Sequence หนึ่ง
.....3.การตัดต่อ หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้งหมดของเรื่องราวในภาพยนตร์ โดยคำนึงถึงการเคลื่อนไหวภายใน Shot ทิศทางในการแสดงและของ Subject องค์ประกอบภาพ ตลอดจนความยาวของฉากเหตุการณ์แต่ละอัน เพื่อใช้ในการสร้างจังหวะ (Tempo) สิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับการตัดต่อมี 5 ประการ ดังนี้
..........การเชื่อมภาพ เป็นวิธีการเปลี่ยนแปลงจากฉากหนึ่งไปยังอีกฉากหนึ่ง ก่อให้เกิดความหมายที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในส่วนของความต่อเนื่องและการเปลี่ยนเวลาและสถานที่ของเหตุการณ์ในภาพยนตร์ ได้แก่
...............-การตัดตรง (Cut) เป็นการเปลี่ยนจากฉากหนึ่งไปยังอีกฉากหนึ่งอย่างรวดเร็ว และเป็นเทคนิคพื้นฐานของการตัดต่อลำดับภาพอีกด้วย
...............-ภาพจาง (Fade) ในภาพยนตร์มีการใช้ภาพจาง 2 แบบ คือ
....................<ภาพจางเข้า (Fade In) เป็นการปรากฏของภาพจากความมืดแล้วค่อยๆ ปรากฏเห็นเป็นภาพชัดเจนในที่สุด
....................<ภาพจางออก (Fade Out) มีลักษณะตรงข้ามกับภาพจางเข้า
...............-ภาพจางซ้อน (Dissolve) เป็นลักษณะรวมของ Fade In และ Fade Out นิยมใช้ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาพในภาพยนตร์
...............-ภาพกวาด (Wipe) คือ การที่ภาพใหม่เข้ามาแทนที่ภาพเก่า โดยที่ผู้ชมยังคงมองเห็นภาพทั้ง 2 ซีน ได้อย่างชัดเจนตลอดช่วงของความยาวของการกวาดภาพนั้น
...............-ภาพซ้อน (Supper Impose) เป็นการพิมพ์ฉาก 2 ฉาก หรือมากกว่านั้นเข้าด้วยกันด้วยช่วงความยาวเดียวกัน ใช้ในการแสดงความหมายในเชิงจิตใต้สำนึก
..........ความหมายที่ 3 ตำแหน่งที่มีการตัดต่อใดๆ ก็ตาม ย่อมก่อให้เกิดความหมายบางอย่างในภาพขึ้น เมื่อฉาก 2 ฉากที่มีความเกี่ยวเนื่องกันถูกตัดต่อเข้าด้วยกัน ก็จะก่อให้เกิดความหมายที่ 3 ขึ้น หรือมีลักษณะการแสดงโดยนัย ซึ่งเกิดขึ้นเองในใจผู้ชม
...............-การตัดต่อแบบเล่าเรื่อง คือ เล่าเรื่องอย่างมีความต่อเนื่อง เช่น ถ่ายภาพของชายคนหนึ่ง ต่อด้วยภาพไก่ย่าง ความหมายที่ 3 จะเกิดขึ้นว่าเป็นภาพชายผู้หิวโหย พร้อมจะทานอาหารได้ทันที เป็นต้น
...............-การเล่าเรื่องแบบแสดงโดยนัย เป็นการเสนอเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ เพื่อสร้างความหมายที่สามในเชิงสัญลักษณ์ขึ้นภายในใจของผู้ชม โดยความหมายใหม่นั้นไม่ได้มีอยู่มาก่อน เช่น ภาพใกล้ชายคนหนึ่ง ตามด้วยภาพนกพิราบบินขึ้นฟ้า โดยที่ปูเรื่องราวว่าชายคนนั้นเคยเป็นนักโทษ ดังนั้นความหมายโดยนัย คือ ความเป็นอิสระ หลุดพ้นจากกรงขัง
..........เวลาและระยะในภาพยนตร์
...............-เวลาในภาพยนตร์ เวลาที่เป็นจริงในโลกจะแตกต่างจากเวลาในภาพยนตร์โดยสิ้นเชิง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เป็นวัน อาทิตย์ เดือน ปี สามารถย่นให้เหลือชั่วโมงเดียว ภาพยนตร์สามารถทำให้สั้นหรือยาวกว่าความเป็นจริงได้
...............-ระยะในภาพยนตร์ มีลักษณะเหมือนเวลา คือ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันในระยะของความเป็นจริง โดยใช้การเชื่อมภาพเข้ามาแทน
..........จังหวะ จังหวะในภาพยนตร์ถูกควบคุมด้วยความยาวของเวลาที่ฉากเหตุการณ์นั้นปรากฏบนจอ ถ้าจังหวะที่ปรากฏนาน เหตุการณ์นั้นจะมีลักษณะค่อนข้างเฉื่อยชา หากเหตุการณ์ปรากฏบนจอค่อนข้างสั้น จังหวะของเหตุการณ์จะมีลักษณะไปทางตื่นเต้นมากกว่า
..........การตัดต่อรูปแบบอื่น แนวความคิดเรื่องเกี่ยวกับเวลาและระยะในส่วนของการตัดต่อ ยังมีวิธีการอีกหลายรูปแบบ คือ
...............-Flash Back เป็นวิธีการที่แสดงถึงเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นมาก่อนเหตุการณ์ที่กำลังปรากฏอยู่
...............-Flash Forword ใช้แสดงเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เช่นเดียวกับแฟรชแบล็ค โดยใช้การเชื่อมภาพมาช่วย
...............-มอนทาจ เป็นชุดของซีนสั้นๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เมื่อมองภาพรวมแล้วจะบอกความหมายที่กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อาจใช้แสดงถึงการผ่านไปของเวลาที่ยาวนาน เช่น เหตุการณ์ในช่วงเวลาของสงคราม ใช้ภาพจางซ้อน เพื่ออธิบายการผ่านไปอย่างยาวนาน หรือฉากเกี่ยวข้องอยู่ในความนึกคิด เช่น ความฝัน


Webmaster :
Saranya Akrapranwat

Contact :
photodept@hotmail.com



 



Copyright ©2004 By www.btc.rit.ac.th/photodepartment All Rights Reserved



เว็บนี้ควรเข้าชมด้วย Internet Explorer 4.0 ขึ้นไป ขนาดตัวอักษร Medium Text Size และขนาดหน้าจอ 800X600 pixel
และรับชมได้เฉพาะภาษาไทยเท่านั้น (Thai Langague Only)