:. การถ่ายภาพทิวทัศน์ .:

....ในการถ่ายภาพทิวทัศน์สิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก คือ แสงที่ใช้ถ่ายภาพในรอบวัน เพราะแสงเป็นสิ่งสำคัญที่ให้อารมณ์แก่ทิวทัศน์ แสงในตอนเช้าตรู่หรือตอนบ่ายและตอนเย็น จะให้อารมณ์ในภาพดีที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะดวงอาทิตย์อยู่ต่ำและแสงจะนุ่มและให้ความอบอุ่น ในการบันทึกภาพให้เห็นสีสันของบรรยากาศ ควรถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง 28 มม. และถ้าหากว่าสามารถจัดให้ฉากหน้ามีสีมืด ส่วนฉากหลังให้สว่างแล้วภาพจะเด่นและให้ความรู้สึกสมจริงเป็นภาพสามมิติเหมือนตาเห็น



กล้องนิคอน FE, 28 มม. ฟิล์มโกดาโครม 64 ไอเอสโอ f/8, 1/60 วินาที
....การปรับตั้งหน้ากล้องเมื่อต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์เป็นสิ่งสำคัญมากเช่นกัน ถ้าต้องการให้ภาพมีช่วงความชัดลึกมากควรตั้งหน้ากล้องที่ f-stop มีค่ามากๆ เช่น f/11, f/16, f/22 และเลือกใช้เลนส์มุมกว้าง 28 มม. เมื่อใดที่ต้องการจะดึงภาพของวัตถุที่สำคัญในทิวทัศน์ให้เห็นใกล้และใหญ่ขึ้น ก็ควรเปลี่ยนไปใช้เลนส์เทเล เมื่อใช้เลนส์เทเลถ่ายภาพควรใช้ความไวชัตเตอร์สูงเป็น 1/250, 1/500, หรือ 1/1000 ยิ่งดีเพื่อป้องกันภาพที่พร่ามัวเนื่องจากกล้องสั่นขณะลั่นไก


กล้องนิคอน FE, 28 มม. ฟิล์มเอ็กตาโครม 64 ไอเอสโอ f/5.6, 1/60 วินาที
....ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ที่เป็นน้ำตก ภาพของน้ำตกจะดูน่าสนใจและเหมือนธรรมชาติ ควรตั้งความไวชัตเตอร์ช้าๆ เช่น ใช้ความไวชัตเตอร์เพียง 1/15 วินาที จะมองเห็นภาพน้ำตกพร่า ทางน้ำตกเห็นเป็นเส้นฝอยเหมือนธรรมชาติจริงๆ ในการถ่ายภาพน้ำตกที่มีบริเวณกว้างใหญ่และฉากหลังเป็นท้องฟ้าสว่าง ถ้าไม่กรองแสงด้วยฟิลเตอร์ยูวี ก็จะมีผลทำให้ภาพน้ำตกมีสีอมฟ้าเนื่องจากอิทธิพลของรังสีอัลตราไวโอเลต โดยปกติแล้วน้ำตกจะไม่มีสีสัน ผู้ถ่ายอาจจะแต้มสีให้กับน้ำตกโดยใช้ฟิลเตอร์สีวางตัดหน้าเลนส์


กล้องนิคอน FE, 28 มม. ฟิล์มเอ็กตาโครม 64 ไอเอสโอ f/16, 1/30 วินาที
ที่มา : ศักดิ์ดา ศิริพันธ์.การถ่ายภาพสี. 2527, 68-75

Webmaster :
Saranya Akrapranwat

Contact :
photodept@hotmail.com



 

 



Copyright ©2004 By www.btc.rit.ac.th/photodepartment All Rights Reserved


เว็บนี้ควรเข้าชมด้วย Internet Explorer 4.0 ขึ้นไป ขนาดตัวอักษร Medium Text Size และขนาดหน้าจอ 800X600 pixel
และรับชมได้เฉพาะภาษาไทยเท่านั้น (Thai Langague Only)