:. ภาษาภาพยนตร์ .:
.....ภาษา
หมายถึง ระบบสัญลักษณ์ และหรือระบบสัญญลักษณ์ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน
.....ภาษาที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสาร
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
.....1.ภาษาที่ใช้ถ้อยคำหรือวัจนภาษา
(Verbal Language) หมายถึง ภาษาพูดหรือภาษาที่ออกเสียงเป็นถ้อยคำ
หรือประโยคที่มีความหมายสามารถเข้าใจได้ เช่น คำพูด คำสนทนา
ภาษาเขียน เป็นต้น
.....2.ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำหรืออวัจนภาษา
(Non-Verbal Language) หมายถึง ภาษาที่ไม่ออกเสียงเป็นถ้อยคำ
แต่สามารถสื่อให้เกิดความหมาย เกิดความรู้และความเข้าใจ เช่น
การใช้สีหน้า ท่าทาง สัญลักษณ์ เป็นต้น
.....หากพิจารณาโครงสร้างของภาพยนตร์แล้ว
จะพบว่ามีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นภาพ
(Image) และส่วนที่เป็นเสียง (Sound) ส่วนประกอบทั้ง 2 เป็นสัญลักษณ์
และหรือสัญญาณที่ผู้สร้างภาพยนตร์ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ชม
อาจกล่าวได้ว่า ภาพและเสียงถือเป็นภาษาของภาพยนตร์
องค์ประกอบของภาษาภาพยนตร์
.....องค์ประกอบของภาษาภาพยนตร์
หมายถึง สิ่งที่มาประกอบกัน เพื่อให้เกิดเป็นภาษาภาพยนตร์
ที่ผู้สร้างใช้ในการสื่อสารไปยังผู้ชม โดยทำได้ 3 ทาง คือ
.....1.ภาพ
ภาพที่เห็นปรากฏบนจอภาพยนตร์จะมีส่วนสัมพันธ์กับลักษณะภาพที่เลือกใช้
การเคลื่อนไหว ตลอดจนโทนแสงด้วย
..........ขนาดของภาพ
ถูกกำหนดขึ้นจากระยะห่างจากกล้องถึง Subject ซึ่งมีหลายระยะห่าง
ตั้งแต่ใกล้จนถึงไกล ที่นิยมใช้ มีดังนี้
..........•Establishing
Shot บางครั้งเรียก Long Shot หรือภาพไกล
ในการแนะนำเรื่องหรือในตอนเริ่มต้นของภาพยนตร์ ใช้บอกสถานที่ที่เกิดเหตรวมทั้งอารมณ์และตัวแสดงุในเรื่อง
ขนาดภาพมีลักษณะมุมกว้าง นอกจากนี้ยังนิยมใช้ในการแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงเรื่องเวลา
และสถานที่ของเหตุการณ์ได้เช่นกัน
..........•Full
Shot ขนาดของภาพชนิดนี้จะเห็นรูปทรงของ
Subject เต็มตัว ถ้าเป็นบุคคลก็จะเห็นตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า
ใช้ในการแนะนำตัวแสดงใหม่หรือสิ่งใหม่ต่อผู้ชม
..........•Medium
Shot หากเป็นภาพบุคคลก็จะเห็นตั้งแต่บริเวณบั้นเอวขึ้นไป
จะใช้ภาพปานกลางกับตัวแสดงที่ต้องการใช้มือแสดงอากัปกริยาบางอย่าง
..........•Tigh
Two-Shot เป็นประเภทหนึ่งของภาพปานกลาง
โดยเน้นที่เสนอภาพบุคคล 2 คน ร่วมเฟรมเดียวกัน เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ของทั้ง
2 คน เช่น ทะเลาะกัน สนทนาปราศรัยกัน
..........•Close-Up
Shot หากเป็นภาพบุคคล จะเห็นเฉพาะส่วนศีรษะของบุคคลนั้น
ภาพใกล้ใช้สำหรับเน้นรายละเอียดซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเหตุการณ์นั้น
..........•Extreme
Close-Up Shot เป็นภาพในลักษณะใกล้มาก
จะเห็นเพียงจุดใดจุดหนึ่งของ Subject เท่านั้น ภาพลักษณะนี้ใช้ในจุดที่มีความสำคัญมากที่สุด
มีผลต่อความรู้สึกต่ออารมณ์ของผู้ชมมาก
..........การเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในภาพยนตร์
เป็นสิ่งที่ทำให้ภาพยนตร์แตกต่างจากภาพนิ่งและภาพเขียน การเคลื่อนไหวในภาพยนตร์
แบ่งเป็น 3 รูปแบบ
..........•การเคลื่อนไหวของ
Subject ต่อหน้ากล้อง การเคลื่อนไหวนี้จะมีพลังมากในการดึงดูดสายตา
ผู้ชมจะจับตาดูสิ่งที่เคลื่อนไหว โดยละความสนใจจากสิ่งอื่น
..........•การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการทำงานของกล้อง
มีหลายวิธี คือ
...............-PAN เป็นลักษณะการกวาดภาพในแนวราบ
โดยที่กล้องจะตั้งอยู่บนสามขา
...............-Switch Pan
เป็นการเคลื่อนไหวกล้องในลักษณะของการแพน แต่จะมีความเร็วมากกว่าจนทำให้เกิดภาพพร่ามัว
หรือที่เรียกว่า ภาพเบลอ
...............-Tilt เป็นการเคลื่อนไหวกล้องในแนวดิ่ง
โดยตั้งกล้องบนขาตั้งกล้อง
...............-Trucking Shot
เป็นการตั้งกล้องอยู่บนรถแล้วขับเคลื่อนไป เพื่อให้ช่างภาพรักษาจังหวะการเคลื่อนไหวของผู้แสดง
...............-Dolly Shot
เป็นการตั้งกล้องไว้บนพาหนะที่มีล้อ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเคลื่อนกล้องเข้าไปใกล้
Subject หรือนำไปใช้ในการติดตามความเคลื่อนไหวของ Subject
...............-Crain Shot
เป็นการติดกล้องไว้ตำแหน่งปลายของปั้นจั่น ซึ่งเคลื่อนที่ไปมาตามที่ต้องการได้
...............-Hand Held เป็นการใช้มือถือกล้องหรือแบกไว้บนบ่า
เพื่อบันทึกภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องเลย
..........•การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการทำงานของเลนส์
...............-การ Zoom In
ช่วยสร้างความต่อเนื่องทางภาพให้กับ Subject โดยพื้นที่ที่ถูกบันทึกจะค่อยๆ
ลดน้อยลง
...............-การ Zoom Out
มีลักษณะตรงกันข้ามกับ Zoom In เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างรายละเอียดเล็กๆ
กับเนื้อหาใหญ่
...............-การ Shift Focus
เป็นการเปลี่ยนความคมชัดของภาพ จาก Subject ไกลไปใกล้ หรือใกล้ไปไกล
...............-Fallow Shot
เป็นการบันทึกภาพขณะที่กล้องเคลื่อนที่ไปพร้อมกับการเคลื่อนที่ของ
Subject อาจเกิดจากการทำงานของ Dolly Pan Tilt ก็ได้
..........โทนแสง
(Tonality) คือสัดส่วนของแสงสว่างที่สุด
ไล่ไปจนถึงส่วนที่เป็นบริเวณเงาดำที่มีอยู่ในฉากเหตุการณ์นั้น
โทนแสงจะช่วยสร้างอารมณ์และบรรยากาศให้แก่เรื่องราวได้ แบ่งเป็น
3 ลักษณะ คือ
..........•แบบ
Low Key Tonality มีเนื้อที่มากกว่าครึ่งในฉากอยู่ในเงาดำมืด
แสดงถึงอันตรายต่างๆ ความหวาดกลัวของมนุษย์
..........•แบบ
High Key เนื้อที่มากกว่าครึ่งในฉากอยู่ในส่วนสว่าง นิยมใช้ในการแสดงถึงความสนุกสนานร่าเริง
ภาพยนตร์เพลง
..........•แบบ
Narrative เป็นแสงสว่างที่มีลักษณะระหว่าง High Key และ Low
Key บอกเหตุการณ์ที่บอกเรื่องราวอย่างตรงไปตรงมา |